“ อะบอโด เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหุบเขา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 - 1,400 เมตร ของตำบลท่าก๊อ อำเภอ แม่สรวย แม้จะอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่จันใต้ที่ขึ้นชื่อในเรื่องกาแฟ แต่การเดินทางเข้ามาที่หมู่บ้านนี้ค่อนข้างยากลำบาก แต่เพราะความยากลำบากนี้เอง ที่ได้รังสรรค์สภาพแวดล้อมของที่นี่ ให้เหมาะสมต่อการเติบโตของกาแฟ จนกลายเป็นแหล่งกาแฟชั้นดีอีกแหล่งหนึ่ง ”
ผ่านที่ราบเชิงเขา ป่าไม้และนาขั้นบันได ไปยังเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ลาวและอุทยานแห่งชาติดอยหลวง ใกล้กับที่ตั้งของชุมชนเผ่าอาข่า ที่แค่พูดถึงคอกาแฟต่างก็รู้จักกันดีอย่าง “บ้านแม่จันใต้” แต่หากได้สืบเสาะค้นเข้าไปถึงชุมชนอื่น ๆ ในตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวยแล้ว จะพบว่าไม่ไกลจากบ้านแม่จันใต้ ยังมีอีกหนึ่งชุมชนกาแฟ ที่ยังคงเนื้อแท้ของวิถีชีวิตที่งดงามไม่แพ้กัน ซึ่งความงามที่ว่านี้ เป็นความงามที่สร้างสรรค์โดยธรรมชาติ และการพัฒนาปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ทรัพยากรโดยคนในพื้นที่ได้อย่างน่าสนใจนั่นเอง
“อะบอโด เป็นชื่อคน เราเอาชื่อเขามาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เพราะอะบอโดเป็นคนก่อตั้งหมู่บ้านนี้ คนในหมู่บ้านเป็นชาวอาข่าที่ย้ายมาจากบ้านมะขามป้อม แล้วมาตั้งรกรากที่นี่ในช่วงปี 2528 สมัยก่อนที่นี่จะปลูกฝิ่น จนถึงประมาณปี 2543 ก็มีเจ้าหน้าที่เข้ามาแล้วรณรงค์ให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวแทนฝิ่น แล้วที่นี้พอเวลาผ่านไปจนถึงช่วงประมาณปี 2547 ดินก็เริ่มเสีย ก็เลยมีการปรึกษากับเกษตรที่สูง ทางเกษตรที่สูงเขาก็เลยส่งเสริมให้ปลูกกาแฟแทน แล้วก็เอากล้ากาแฟมาแจก”
คุณสา (สุชานรี เชอมือ) เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟของหมู่บ้านอะบอโดกล่าวถึงประวัติหมู่บ้าน และการมาถึงของต้นกาแฟด้วยความภูมิใจ โดยคุณสาเล่าให้ฟังว่า อะบอโด เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหุบเขา ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200-1,400 เมตร ของตำบลท่าก๊อ อำเภอ แม่สรวย แม้จะอยู่ไม่ไกลจากบ้านแม่จันใต้ที่ขึ้นชื่อในเรื่องกาแฟ แต่การเดินทางเข้ามาที่หมู่บ้านนี้ค่อนข้างยากลำบาก จึงทำให้บ้านอะบอโดเป็นดั่งหมู่บ้านลับแลที่คนได้ยินแต่ชื่อ แต่มักเดินทางมาไม่ถึง แต่เพราะความยากลำบากนี้เอง ที่ได้รังสรรค์สภาพแวดล้อมของที่นี่ ให้เหมาะสมต่อการเติบโตของกาแฟ จนกลายเป็นแหล่งกาแฟชั้นดีอีกแหล่งหนึ่ง และกลายมาเป็น “หมู่บ้านกาแฟ” ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
“จำได้ว่าเราเริ่มปลูกกาแฟครั้งแรกประมาณปี 2547 ได้ผลผลิตแรกในช่วงปี 2550 – 2551 ซึ่งผลผลิตแรกนี้เรานำไปขายให้โครงการหลวง แต่ผลผลิตแรกยังไม่ค่อยดีเท่าไร เราจึงปรึกษาโครงการหลวงว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งทางโครงการหลวงก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลต้นกาแฟให้เรา ผลผลิตปีต่อมาจึงเริ่มดีขึ้น ในช่วงแรก ๆ มีคนปลูกในหมู่บ้านเพียง 2 หลังเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือครอบครัวเรา หลังจากที่เริ่มเห็นว่าผลผลิตมันขายได้ คนอื่น ๆ ก็เลยปลูกตาม จนตอนนี้ปลูกกาแฟกันทั้งหมู่บ้านแล้ว”
“ เราปรึกษาโครงการหลวงว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งทางโครงการหลวงก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลต้นกาแฟให้เรา ผลผลิตปีต่อมาจึงเริ่มดีขึ้น ในช่วงแรก ๆ มีคนปลูกในหมู่บ้านเพียง 2 หลังเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือครอบครัวเรา หลังจากที่เริ่มเห็นว่าผลผลิตมันขายได้ คนอื่น ๆ ก็เลยปลูกตาม จนตอนนี้ปลูกกาแฟกันทั้งหมู่บ้านแล้ว ”
ครอบครัวของคุณสา ถือเป็นรุ่นบุกเบิกการปลูกกาแฟในหมู่บ้านนี้ เนื่องจากในช่วงยุคแรกเริ่มที่มีการแจกกล้ากาแฟ คนในหมู่บ้านยังไม่รู้วิธีการดูแลรักษาต้นกาแฟที่ถูกต้อง จึงทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร จนเกิดการท้อถอยและล้มเลิกการปลูกกาแฟไปแล้วช่วงหนึ่ง จะเหลือเพียง 2 ครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงปลูกอยู่ โดยหนึ่งในนั้นคือครอบครัวของคุณสา ที่ยังคงมุ่งมั่นและหาความรู้เพื่อพัฒนาการปลูกกาแฟต่อมาเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็นหัวเรือใหญ่ของหมู่บ้านในปัจจุบัน
“คนที่นี่ปลูกกาแฟ เพราะไม่อยากทำไร่เลื่อนลอย โชคดีที่นี่สภาพแวดล้อมได้ ทั้งอากาศ ทั้งดิน ทั้งน้ำ กาแฟของเราก็เลยโตวันโตคืน ที่เหลือก็แค่เรื่องความรู้ เรื่องการดูแล เราพยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ พื้นที่เราดี ดินของเราสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าเราปลูกกาแฟดี ๆ ดูแลรักษาดี ๆ กาแฟของเราก็จะมีรสชาติดี คือ อย่างอื่นพี่ไม่รู้ แต่พี่มั่นใจว่าเมล็ดกาแฟของเราเม็ดใหญ่ไม่แพ้ที่อื่นแน่นอน”
ทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งที่มาของชีวิตในหมู่บ้านอะบอโด ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ หรือแม้แต่ป่าไม้ ชาวบ้านอะบอโด จึงมีระบบจัดการทรัพยากร ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปกครอง กรมป่าไม้ และชุมชน แน่นอนว่าหมู่บ้านอะบอโดเอง ก็เคยผ่านอุปสรรคความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติไม่ต่างไปจากพื้นที่ป่า ที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อยู่อาศัย แต่ปัจจุบัน ปัญหาเหล่านี้ได้บรรเทาลง และได้รับความร่วมมือในการจัดการปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ดีขึ้น
“ คนที่นี่ปลูกกาแฟ เพราะไม่อยากทำไร่เลื่อนลอย โชคดีที่นี่สภาพแวดล้อมได้ ทั้งอากาศ ทั้งดิน ทั้งน้ำ กาแฟของเราก็เลยโตวันโตคืน ที่เหลือก็แค่เรื่องความรู้ เรื่องการดูแล เราพยายามใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ พื้นที่เราดี ดินของเราสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าเราปลูกกาแฟดี ๆ ดูแลรักษาดี ๆ กาแฟของเราก็จะมีรสชาติดี ”
บ้านอะบอโดจะมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่อนุรักษ์ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเรือน โบสถ์ ศาลา พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ทำกิน โดยในจำนวนนี้มีพื้นที่สำหรับปลูกกาแฟอยู่ราว 1,200 ไร่ มีพื้นที่ป่าชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ลาว ที่จัดเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์โซน C ที่มีพืชสมุนไพรท้องถิ่นอยู่เป็นจำนวนมาก และยังคงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และด้วยความอุดมสมบูรณ์นี้ ประกอบกับที่นี่เคยผ่านพ้นยุคของการปลูกฝิ่น ก่อนจะมาสู่ยุคการทำไร่กาแฟและผลไม้เมืองหนาว จึงทำให้การปลูกกาแฟของที่นี่ จะเป็นแบบผสมสาน ด้วยการปลูกกาแฟใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ผสานความกลมกลืนระหว่างไม้ยืนต้นกับพืชอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว ภายใต้ข้อจำกัดที่ต้องใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแสงสว่าง อากาศ น้ำ หรือแม้แต่แร่ธาตุ เพื่อฟื้นฟูและหล่อเลี้ยงต้นกาแฟให้สมบูรณ์ และนั่น จึงทำให้เมล็ดกาแฟของหมู่บ้านอะบอโดมีขนาดเมล็ดที่ใหญ่กว่าทั่วไป โดดเด่นด้วยกลิ่นอายของผลไม้รสเปรี้ยว ส้ม แอปเปิ้ลเขียว หวานชุ่มคอด้วยมะขามป้อม เรียกว่าพิเศษถูกใจคอกาแฟแน่นอน
Specialty Coffee จากหมู่บ้านลับกลางหุบเขา
“หลัก ๆ ของการส่งกาแฟของที่นี่คือโครงการหลวง พอถึงจุด ๆ หนึ่ง ที่โครงการหลวงไม่สามารถรองรับกาแฟทั้งหมดของหมู่บ้านได้ ชาวบ้านก็ต้องหาทางออก โดยการหาพาทเนอร์เพิ่ม โดยที่นี่จะมีการขายทั้งเชอร์รี และกะลา โดยชาวบ้านทำการแปรรูปเอง โดยส่วนตัวเราทำส่งให้โครงการหลวงด้วยส่วนหนึ่ง ทำใช้เองส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่งส่งให้ Pacamara”
คุณสาเล่าเกี่ยวกับแหล่งส่งเมล็ดกาแฟของหมู่บ้านอะบอโด ที่นอกจากโครงการหลวงแล้ว ที่นี่ยังมีคู่ค้าที่สำคัญอย่าง Pacamara Coffee Roasters อีกหนึ่งแหล่ง ที่ครอบครัวของคุณสาได้มีโอกาสได้ร่วมงานมากว่า 5 ปีแล้ว โดยคุณสาได้เล่าจุดเริ่มต้นจากการพบเจอกันระหว่างคุณซาน (ชาตรี ตรีเลิศกุล) ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Pacamara Coffee Roasters และคุณนัท สามีของคุณสาที่งานกาแฟงานหนึ่ง ซึ่งนั้นทำให้คุณนัทรู้สึกสนใจในแบรนด์นี้ ที่ได้ชื่อว่าเป็นแบรนด์กาแฟพิเศษ และตัดสินใจส่งกาแฟของบ้านอะบอโดเข้าไปทดสอบ ซึ่งปรากฏว่าผ่าน จากนั้นคุณนัทและคุณสาจึงได้ส่งกาแฟให้กับ Pacamara ตั้งแต่นั้นมา
“เกณฑ์ในการรับซื้อค่อนข้างสูง และยากมาก รูปแบบการซื้อขายจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ บางปีเขาซื้อกะลา บางปีเขาซื้อกาแฟสาร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเขาจะซื้ออะไร แต่ไม่ว่าจะเป็นกะลาหรือสาร เขาก็จะมีเกณฑ์มาให้ แล้วเราต้องผ่านเกณฑ์นั้น แต่ทาง Pacamara ก็ให้ความรู้กับเราว่าควรจะทำอย่างไรกาแฟถึงจะผ่านเกณฑ์ เขาสอนเราเรื่องความชื้น เรื่องการดูแล ซึ่งหากเราทำตาม แล้วกาแฟเราผ่านเกณฑ์ ก็แปลว่ากาแฟของเราดี มีคุณภาพจริง ๆ“
“ เกณฑ์ในการรับซื้อค่อนข้างสูง และยากมาก แล้วเราต้องผ่านเกณฑ์นั้น แต่ทาง Pacamara ก็ให้ความรู้กับเราว่าควรจะทำอย่างไรกาแฟถึงจะผ่านเกณฑ์ เขาสอนเราเรื่องความชื้น เรื่องการดูแล ซึ่งหากเราทำตาม แล้วกาแฟเราผ่านเกณฑ์ ก็แปลว่ากาแฟของเราดี มีคุณภาพจริง ๆ ”
จากตำบลท่าก๊อไปทางทิศตะวันตก 10 กิโลเมตร จากแยกซ้ายที่มุ่งสู่แม่จันใต้ หากลองเลี้ยวรถ มุ่งไปทางแยกขวาอีก 16 กิโลเมตร คุณจะพบกับหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อาจทำกาแฟไม่มากเท่ากับแหล่งอื่น แต่กาแฟที่นี่ก็เต็มไปด้วยความตั้งใจและความพิถีพิถันจากธรรมชาติ และในโอกาสครบรอบ 13 ปี Pacamara จึงได้เลือกเมล็ด Thai ABodo Arabica Washed เมล็ดกาแฟคุณภาพจากหมู่บ้านอะบอโด มาเป็นหนึ่งในเมล็ดที่ใช้ใน ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND กาแฟพิเศษที่ได้รับการรังสรรค์ขึ้นจากความโดดเด่นของ 5 ดอย 8 เกษตรกรได้อย่างลงตัว เพื่อมอบรสชาติที่ที่สดใส เบาบางสว่างใสว ในขณะเดียวกันก็ผสมผสานกับเอกลักษณ์ได้อย่างลงตัวให้แก่ลูกค้าทุกคน ตามคอนเซ็ปต์แบรนด์ที่ว่า “Everyday Specialty – กาแฟสเปเชียลตี้ที่ดื่มได้ทุกวัน”
ฮักหม๊ดไจ๋ 13TH ANNIVERSARY BLEND
Roast Level : Medium Light
Taste Profile : Citrus, Plum, Dark Chocolate, Honey & Hint of Floral
-----
สนในผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่ :
Facebook : Pacamaracoffee
Instagram : Pacamara_th
Website : www.pacamaracoffee.com
โทร : 09 0902 0378
Comments