PA O ความลับหลังม่านใบไม้ในแดนปะโอ
ขณะแหวกผ่านพุ่มไม้ใบเขียวเข้มหนากว้างราวฝ่ามือ ก้าวล้ำเข้าไปในพื้นที่เพาะปลูกกาแฟรอบบ้านเรือนผู้คนภายในหมู่บ้านบนดอย ที่มีความสูงกว่า 1,400 เมตร ผลเชอร์รี่กาแฟแดงก่ำกำลังสุกงอม พร้อมสำหรับเก็บเกี่ยวแล้ว ชาวบ้านหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงสูงวัย ต่างก็กำลังขะมักเขม้นเด็ดลูกเชอร์รี่ทีละเม็ด ๆ ไม่ใคร่ให้ความสนใจกับผู้มาเยือนแปลกหน้าอย่างเรา
เพียงมีบางคนเท่านั้นที่หันมามองด้วยความสงสัย พร้อมโปรยยิ้มจาง ๆ แล้วหันกลับไปทำงานต่ออย่างตั้งอกตั้งใจ คล้ายไม่อยากทิ้งเวลาให้เสียเปล่า ฤดูเก็บเกี่ยวมีเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ในแต่ละวันได้ผลผลิตสำหรับนำไปแปรรูปสักคนละกระบุงสองกระบุงก็ถือว่าไม่มาก ทว่าก็ยังดีกว่าการรูดทั้งพวงตลอดกิ่งเป็นไหน ๆ คุณภาพต่างหากสำคัญกว่าปริมาณ ซึ่งแปรผันโดยตรงต่อเงินที่ได้จากการขายเชอร์รี่สุกสดเหล่านั้น นั่นคือสิ่งที่พวกเขาตระหนักดี
ในสมัยก่อนพื้นที่แห่งนี้ ต้นกาแฟเคยถูกปลูกทิ้งปลูกขว้างเพราะขายได้ราคาต่ำมาก เพิ่งไม่กี่ปีมานี้เองที่ผลผลิตได้รับการตอบรับ ซึ่งต้องกินเวลายาวนานหลายทศวรรษ กว่าเจ้าเมล็ดแดงใหญ่เท่าปลายก้อยเหล่านี้จะแปรรูปเป็นเม็ดเงิน สร้างรายได้รวมทั้งจุดประกายความหวังแก่คนชาติพันธุ์ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า “ปะโอ” (Pa-O people) การรอคอยอย่างลม ๆ แล้ง ๆ ผ่านพ้น
ไปแล้ว ณ ขณะนี้ ดูเหมือนอนาคตของพวกเขาเริ่มสดใส เช่นนี้แล้ว สิ่งใดกันเป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนความสำเร็จนี้
การดั้นด้นเดินทางมุ่งหน้าสู่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐฉาน (Shan State) แห่งประเทศพม่า (Myanmar) ครั้งนี้ มุ่งหมายจะสืบเสาะไล่เรียงอดีต พยายามไต่ถามความจากปากคนในพื้นที่รวมทั้งพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ผนวกกับการจุ่มจ่อมตัวเอง ณ ที่นั้น ทำให้ประสาทสัมผัสเปิดออก ได้ทำงานของมันอย่างเต็มที่ หวังว่าจะนำไปสู่การค้นพบ “ความลับ” ซึ่งซุกซ่อนอยู่หลังม่านใบไม้เหล่านั้น
ต้นตอแห่งความอยากรู้อันนำไปสู่การมุ่งหน้าสู่ประเทศพม่านั้นมาจากเมื่อราวปลายปีก่อน ข่าวสารในโลกอินเทอร์เน็ตเริ่มเผยแพร่เรื่องราวกาแฟในประเทศพม่า ว่ามีความสามารถ “กระโจน” เข้าสู่ตลาดกาแฟโลก นับเป็นความสำเร็จชนิดก้าวกระโดด เพราะไม่ได้เพียงแค่ขายในตลาดล่างราคาทั่วไปเท่านั้น แต่ได้รับการการันตีว่าผ่านมาตรฐานกาแฟพิเศษ ซึ่งพอจะเข้าใจได้ว่า มีปัจจัยส่งเสริมหลายประการ หนึ่งในนั้นคือ “ต้นทุน” ที่สั่งสมมาดีด้วยที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งจริงอยู่ อังกฤษนั้นขนสมบัติ
ล้ำค่าและทรัพยากรธรรมชาติมากมายกลับไปยังมาตุภูมิ แต่ก็ทิ้งมรดกหลายอย่างไว้ให้ หนึ่งในนั้นก็คือกาแฟสายพันธุ์ดี
ความหวังแก่คนชาติพันธุ์ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า “ปะโอ” (Pa-O people)
การรอคอยอย่างลมๆ แล้ง ๆ ผ่านพ้นไปแล้ว ณ ขณะนี้ ดูเหมือนอนาคตของพวกเขาเริ่มสดใส
---
PA O The Secret Behind the Curtain of Leaves
While I was going through the thick, dark, green bush into the coffee plantations, around the houses of the people, in the mountains the coffee berries are bright red and ready for harvest. Many villagers, especially elderly woman are energetically harvesting berries one by one. They are
not paying attention to the foreign visitors. Some people turned to look, with curiosity and a faint smile, and then they turned back to work so as not to waste time. Harvest season is only a few months long. Each day they are able to pick one or two buckets of berries for processing. This may not be much but is less damaging than taking the whole limb when you want to produce
the best coffee possible.
In the past this area had many coffee trees but they were never harvested as the price paid for the coffee was very low. A few years ago the farmers were finally able to turn a profit from growing coffee but this took decades to get to this point. When revenue from the coffee started
coming it generated a spark of people that all those years of waiting were worth it and not in vain. The future seemed bright and this motivated them to keep moving forward.
My journey back in time took me to the South West or Shan State in Myanmar. My goal was to talk to the people in the area and those involved in coffee production in order to immerse myself in coffee growing both past and present. I hoped to discover the secret hidden behind the curtain of leaves.
An article on the internet made me curious about how Myanmar coffee had come to be on the world coffee market not just on the local commodity exchanges. How were they able to guarantee the standards needed in order to be a Specialty Coffee? Part of the answer lay in the fact that they sell the coffee at a fair price. They also need to thank the English colonizers who left behind a good breed of coffee. This is not the whole story though.
hope for the Pa-O people that all those years of waiting were w orth it and not in vain. The future seemed bright
Coffee Traveler
เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
- - -
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX Facebook Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Youtube : Coffee Traveler
Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag
Comments