top of page
Writer's picturecoffeetravelermag

Coffee Traveler Issue 49




สายพันธุ์กาแฟทั่วทั้งโลกมีอยู่มากมาย แต่ละสายพันธุ์ก็มีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ รูป รส กลิ่น แตกต่างกัน และในหนึ่งสายพันธุ์นั้น ก็ยังแยกย่อยออกไปอีกมากมายเช่นเดียวกันขึ้นอยู่ตามแหล่งกำเนิด แหล่งที่มา ซึ่งส่วนใหญ่ในทางวิชาการก็จะใช้เป็นรหัสหรือตั้งเป็นชื่อตามแหล่งทดลองนั้นๆ เช่น กาแฟอาราบิกาสายพันธุ์เชียงใหม่ 80 ที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์คาติมอร์ CIFC 7963 – 13 – 28 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่าง H.W 26/5 (832/1 Hibrido de Timor กับ 19/1 Caturra) กับสายพันธุ์ SL 28 โดยศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ CIFC (Centro de Investigacao das Ferrugens do Cafeciro) ประเทศโปรตุเกส ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 ในปี 2503 เมล็ดพันธุ์แต่ละชั่วของการคัด ถูกส่งไปปลูกที่ประเทศแองโกลา บราซิล โปรตุเกส และไทย การปลูกและคัดเลือกชั่วที่ 2 ดำเนินการที่ IICA (Instituto Interamericano de Ciencias Agricolas) ในประเทศแองโกลา ชั่วที่ 3 ที่บราซิล ชั่วที่ 4 ที่ CIFC ประเทศโปรตุเกส ชั่วที่ 5 ที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2528 - 2547 โดยอาจารย์มานพ หาญเทวี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และประกาศรับรองสายพันธุ์ในชื่อว่าเชียงใหม่ 80 เป็นต้น

(ข้อมูล : สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร)


หนึ่งในสายพันธุ์กาแฟอาราบิกาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และมีราคาซื้อขายแพงที่สุดในตลาดกาแฟโลกขณะนี้ ก็คือกาแฟอาราบิกาสายพันธุ์เกชา (Gesha) หรือในสมัยก่อนเรามักจะเรียกกันติดปากกันว่า เกอิชา (Geisha) อย่างที่รู้กันมาโดยตลอดว่ามันมีต้นกำเนิดมาจากหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่อยู่ในประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งชื่อแต่เดิมคือเกอิชา ต่อมาในระยะหลังจึงเปลี่ยนมาใช้คำว่าเกชา โดยเอาตัว i ออก เพราะว่าผู้คนเริ่มสับสนกับคำที่มันไปตรงกับคำในภาษาญี่ปุ่นนั่นเอง



There are many coffee species in the world. Each comes with a unique profile, shape, taste, and aroma, and can be further classified into multiple varieties depending on the origin and location. Researchers usually catalogue a coffee variety by using a code or a name relevant to their experimental stations. For example, Coffea arabica var. chiangmai 80 is a cross between Catimor CIFC 7963-13-28, which is a hybrid between H.W 26/5 (832/1 Hibrido de Timor) and 19/1 Caturra, and the variety SL 28. In 1960, CIFC (Centro de Investigacao das Ferrugens do Cafeciro), a center

for coffee leaf rust disease research in Portugal, selected the next - generation F1. Afterwards, the subsequent generations were introduced to Angola, Brazil, Portugal, and Thailand. The production and selection of the F2 generation took place at IICA (Instituto Interamericano de Ciencias Agricolas) in Angola, the F3 generation in Brazil, the F4 at CIFC in Portugal, and the F5 in Thailand. From 1985 to 2004, Manop Hantawee, an agricultural specialist at Chiang Mai Royal Agricultural Research center in Chiang Mai, oversaw the development of the F5 generation that was later named chiangmai 80.

( Information: Horticulture Research Institute, Department of Agriculture )


Today, one of the most recognized and high-priced varieties of arabica coffee is Gesha, previously known as Geisha. As we all remember, the variety originated from a small village in Ethiopia. The name was originally Geisha but the ‘i’ was eventually taken out so people would not be confused with the Japanese word Geisha.




 

Coffee Traveler

เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX Facebook Coffee Traveler

Instagram : coffeetraveler_magazine

Youtube : Coffee Traveler

Blockdit : I am Coffee Traveler / coffeetravelermag

49 views0 comments

Comments


bottom of page