top of page

Coffee Traveler Issue 71




กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมาหลายศตวรรษ ในขณะที่การบริโภคกาแฟเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน และนั่นจึงทำให้ผู้ผลิตกาแฟ รวมถึงผู้มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทานอื่น ๆ ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ โดยสภาพอากาศที่แปรปรวน ได้ส่งให้พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกาแฟลดลงอย่างมาก จนนำไปสู่การหากลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อรับมือ และลดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟให้น้อยที่สุด ดังนั้น จึงต้องมีความพยายามในการลดการมีส่วนร่วมของการทำการเกษตร ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และลดผลกระทบด้านลบอื่น ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ความเสื่อมโทรมของที่ดิน การปนเปื้อนของน้ำ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น


เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้ผลิตกาแฟ สามารถเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรของตนเอง ผ่านการฟื้นฟู และอนุรักษ์ ดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึง การสร้างความยืดหยุ่นเมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แนวทางนี้ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนอีกด้วย ในขณะเดียวกัน การทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูก็สามารถเพิ่มรายได้ผ่านการกระจายความเสี่ยง เพราะเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูจะมีความได้เปรียบในเรื่องความยืดหยุ่นสามารถใช้หลักการได้ทั้งในการผลิตขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ภายใต้สภาวะที่หลากหลาย ด้วยเหตุนี้ แนวทางนี้จึงสามารถจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและการผลิต นอกจากนี้ ยังเชื่อมโยงไปถึงแนวคิดการทำเกษตรกรรมแบบยั่งยืนอื่น ๆ ที่สำคัญอีกด้วย


จากความท้าทายที่อุตสาหกรรมกาแฟต้องเผชิญภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของสภาพภูมิอากาศ ที่ Coffee Traveler ได้นำเสนอไปในนิตยสารฉบับที่ 70 สำหรับฉบับที่ 71 นี้ เราจึงได้นำเสนอแนวทางการทำเกษตรกรรมที่น่าสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการฟื้นฟู และรับมือกับความท้าทายกับปัญหาสภาพอากาศ โดยเน้นหลักการสำคัญ และแนวทางปฏิบัติที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างยืดหยุ่นและผสมสานกัน เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้กับการผลิตกาแฟ โดยการนำเสนอเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนเกษตรกรในการเปลี่ยนผ่าน จากการทำเกษตรกรรมธรรมดา ไปสู่การทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู โดยการเลือกแนวทางปฏิบัติที่ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจง วัตถุประสงค์ และทรัพยากรที่มีอยู่ พร้อมทั้งปรับให้เข้ากับบริบทของท้องถิ่นให้มากที่สุด



ENG (VER)


For centuries, coffee has been a beloved beverage worldwide. However, as coffee consumption continues to rise, climate change is exacerbating the challenges faced by coffee producers and other stakeholders in the supply chain. The shrinking availability of suitable land for coffee cultivation due to climate change is pushing producers to adopt various strategies to safeguard the livelihoods of coffee farmers.


One promising solution is regenerative agriculture, which offers coffee producers the opportunity to revitalize their farming practices. This approach focuses on restoring and preserving soil, water, and biodiversity while enhancing resilience to climate change. By adopting regenerative agriculture, farmers can reduce greenhouse gas emissions, increase carbon sequestration, and diversify their income streams, addressing both environmental and production challenges. Moreover, it aligns with broader sustainable agricultural practices.


In Issue 71, building on the climate challenges highlighted in Issue 70, Coffee Traveler explores this innovative agricultural approach. The issue delves into key principles and practices of regenerative agriculture that can be tailored to enhance the sustainability of coffee production. By equipping farmers with tools to transition from conventional to regenerative agriculture, and by encouraging practices that align with their specific needs, goals, and resources, this approach aims to foster sustainability and resilience in the coffee industry.


What is Regenerative Agriculture?

Regenerative Agriculture is a holistic approach to farming that focuses on achieving sustainability by restoring and enhancing natural resources such as soil fertility, biodiversity, and water quality, while also fostering the growth of agricultural businesses. Unlike traditional farming methods, regenerative agriculture adapts to the unique characteristics of each area’s landscape. Practices like cover cropping and the use of organic fertilizers. This approach aligns closely with the goals of conserving and revitalizing natural resources and the environment, making it a vital extension of organic farming.


The 3 Keys to Regenerative Agriculture

Regenerative agriculture centers around three critical elements : soil, water, and biodiversity. These are vital for enhancing and maintaining the environmental quality of agricultural areas. By promoting the diversification of production systems in line with agroecological principles, regenerative agriculture strengthens natural processes.


For instance, integrating agroforestry can help regulate climate, while incorporating flowering and wild plants can improve pollination. Greater plant diversity and vegetation complexity make production systems more resilient to environmental changes, pests, and diseases, reducing reliance on external inputs. Diversification also offers farmers the opportunity to increase their incomes and reduce vulnerability to market fluctuations, low crop prices, and other external pressures.This blend of diversification and natural resource restoration is a defining feature of regenerative agriculture and can be applied to various agricultural systems beyond coffee.




 

Coffee Traveler 

เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX

Facebook Coffee Traveler 

Youtube : Coffee Traveler 

19 views0 comments

Comments


bottom of page