" พี่อ้วน ลลิดา จึงเป็น instructor ที่ เป็น SCA Authorized Trainner all CSP ของสมาคม ผู้อิงหลักสูตรการสอน มาจากหลักสูตรมาตรฐานสมาคมกาแฟพิเศษโลก SCA (Specialty Coffee Association) "
สมาคมกาแฟพิเศษ หรือ SCA คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ได้พัฒนาหลักสูตรทักษะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำกาแฟตั้งแต่ Farm to Cup โดยได้รับการยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟในหลายประเทศทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของ องค์กร SCA นั้น มาจากการรวมกันระหว่าง 2 องค์กรที่สำคัญของธุรกิจกาแฟพิเศษทั้งจากฝั่งสหรัฐอเมริกาและยุโรปคือ SCAA (Specialty Coffee Association of America) กับ SCAE (Specialty Coffee Association of Europe) ได้รวมกันในปี 2016 โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างระบบการศึกษา วิจัยเกี่ยวกับกาแฟระดับสากลเพื่อให้ความรู้ ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพื่อยกระดับมาตรฐานของกาแฟให้สูงขึ้นและถูกต้อง ผู้ที่ได้เป็นเทรนเนอร์ของ SCA จะถูกเรียกว่า SCA Authorized Trainner all CSP หรือ ผู้ฝึกสอนมืออาชีพที่มีประสบการณ์ด้านอาชีพและความรู้ด้านกาแฟในวงกว้าง เพื่อนำเสนอหลักสูตรคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียนและอุตสาหกรรม ซึ่งในประเทศไทยมีอยู่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น และหนึ่งในนั้นคือ พี่อ้วน ลลิดา สิทธิพฤษทานนท์ หรือ พี่อ้วน Omnia อาจารย์ SCA Instructor และผู้ก่อตั้ง Omnia Cafe and Roastery
“จุดเริ่มต้นในการเข้าสู่วงการกาแฟของพี่ บางคนฟังแล้วอาจคิดว่า มันเป็นไปได้เหรอ เพราะพี่เริ่มจากคนที่ไม่กินกาแฟมาก่อน แต่ก็มีความหลงใหลในกาแฟ เรื่องแรกเลยที่หลงใหลคือเรื่องของกลิ่น เวลาเราไปในแต่ละร้านหรือว่าเราได้กลิ่นของกาแฟแต่ละแก้ว เราสังเกตว่ามันไม่มีกลิ่นที่คล้ายกันเลยสักแก้ว แต่ละที่ที่ไปมันจะมีเสน่ห์หรือว่ามีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนกันอยู่ มันก็เริ่มทำให้เราอยากรู้มากขึ้น คือสิ่งที่อยากรู้ก็ทำให้เราเกิดการเรียนรู้มากขึ้น แล้วก็ชักจูงเราเข้าสู่วงการกาแฟ”
" กาแฟ นอกจากจะมีเสน่ห์จนทำให้เราอยากเรียนรู้เรื่องของเขาแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่ทำให้เราออกเดินทาง เวลาเราทานกาแฟ 1 แก้ว เรามักจะค้นพบเรื่องราวที่ทำให้เราอยากเดินทางกลับไปสู่แหล่งกำเนิดของกาแฟนั้น "
พี่อ้วน จบการศึกษาจาก SCAA : Specialty Coffee Association of America และสถาบัน SCAE : Specialty Coffee Associations of Europe ในทุกหมวดการสอน และทำการสอบ เพื่อเลื่อนขั้นเป็นผู้สอนของสมาคมกาแฟพิเศษของอเมริกาและยุโรป ปัจจุบัน SCAA และ SCAE ได้ลงนามข้อตกลงเป็นสมาคมเดียว คือ SCA ที่เป็นที่รู้จักในขณะนี้ ดังนั้น
พี่อ้วน ลลิดา จึงเป็น instructor ที่ เป็น SCA Authorized Trainner all CSP ของสมาคม ผู้อิงหลักสูตรการสอน มาจากหลักสูตรมาตรฐานสมาคมกาแฟพิเศษโลก SCA (Specialty Coffee Association) นอกจากนี้ พี่อ้วนยังมี Q grader ระดับโลกในสายเมล็ดกาแฟทั้งโรบัสตาและอาราบริกา โดยพี่อ้วนถือเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่ก้าวเข้าไปอยู่ในแวดวงกาแฟระดับโลก และสามารถออกใบรับรองให้กับบุคคลที่สนใจเรียนรู้ในศาสตร์ของกาแฟตามมาตรฐานสากล จนได้รับสมญานามจากเหล่าคอกาแฟต่างชาติว่า “Coffee Queen” ราชินีผู้รอบรู้ศาสตร์และประสบการณ์ทางด้านกาแฟ แต่ยังไม่หยุดพียงเท่านั้น พี่อ้วนยังคงเดินทางเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในโลกกาแฟอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการเดินทางไปยังแหล่งกำเนิดกาแฟทั่วโลกด้วย
“กาแฟ นอกจากจะมีเสน่ห์จนทำให้เราอยากเรียนรู้เรื่องของเขาแล้ว มันยังเป็นสิ่งที่ทำให้เราออกเดินทาง เวลาเราทานกาแฟ 1 แก้ว เรามักจะค้นพบเรื่องราวที่ทำให้เราอยากเดินทางกลับไปสู่แหล่งกำเนิดของกาแฟนั้น ไม่ใช่แค่พี่หรอก เชื่อว่าแต่ละท่านที่หลงใหลในกาแฟเองก็ย่อมเดินทางกันเยอะอยู่แล้ว ในส่วนของพี่ เซตแรกที่พี่ออกเดินทางเลย คือไปอเมริกากลาง พี่เคยสัมภาษณ์เรื่องนี้ลง Coffee Traveler ด้วย ในฉบับต้น ๆ ตั้งแต่ก่อนเปิดร้านเลย คือพี่อยากรู้ว่ากาแฟที่เขาทำเป็นอย่างไรเขาทำกันแบบสืบทอดกันเป็น Generation จากรุ่นปู่รุ่นย่า ไปสู่รุ่นพ่อรุ่นแม่ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเลย พี่อยากรู้ว่าทำไมเขาถึงทำกันแบบนี้ แล้วทำไมกาแฟของเขาถึงมีชื่อเสียงไปทั่วโลก อีกอย่างคือ แหล่งปลูกแต่ละแหล่งก็จะมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน เช่น ในประเทศไทยเรา ที่พี่ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรทางเชียงใหม่ เชียงราย ที่ ๆ พี่ไปทำงานร่วมกับเขาในแต่ละที่ ก็จะมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันและเรามองว่ามีเสน่ห์ที่สุด นั้นคือความตั้งใจที่อยากจะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองของเหล่าเกษตรกร”
" สิ่งที่เราได้รู้ ได้เห็นระหว่างเดินทาง มันก็คือสิ่งที่เรานำกลับมาถ่ายทอดให้เกษตรกร เกษตรกรสามารถดูแลต้นกาแฟได้ดีขนาดไหน เราจะนำสิ่งที่เราเห็นในระหว่างเดินทาง มาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราเห็นตอนนี้ "
ด้วยแนวคิด “Farm to Cup” ทำให้ทุกขั้นตอนของการเดินทางของกาแฟตั้งแต่การปลูกไปจนถึงการชง สามารถสืบย้อนไปถึงต้นกำเนิดได้ พี่อ้วนที่ตระหนักถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันความรู้ จึงได้เปิดคลาสเรียนและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและผู้ที่สนใจ โดยนำความรู้และสิ่งที่เห็นระหว่างเดินทางมาแบ่งปันให้ผู้เรียนอย่างไม่หวงวิชา
“สิ่งที่เราได้รู้ ได้เห็นระหว่างเดินทาง มันก็คือสิ่งที่เรานำกลับมาถ่ายทอดให้เกษตรกร เราเอามาถ่ายทอดทั้งหมดเลย แม้กระทั่งเรื่องแปลงกาแฟการดูแลรักษาแปลงกาแฟ เกษตรกรสามารถดูแลต้นกาแฟได้ดีขนาดไหนเราจะนำสิ่งที่เราเห็นในระหว่างเดินทาง มาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราเห็นตอนนี้ถ้าเขาทำดีอยู่แล้ว ก็ถือว่าเขาประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการแต่ถ้าเขายังทำไม่ดี เราก็จะสามารถชี้แนะเขาได้เพื่อให้เขาปรับปรุง จริง ๆ มันมีหลายขั้นตอนมากถ้าเราเห็น เราเก็บเกี่ยว เราเรียนรู้มา เราก็จะสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ดีที่สุดออกมาได้ นี้คือเหตุผลที่ทำให้เราอยากออกเดินทาง เพราะการเดินทางมันทำให้เราเกิดการพัฒนาไปด้วยกัน”
ปัจจุบัน พี่อ้วน เป็นเจ้าของร้าน Omnia Cafe & Roastery ร้านกาแฟของเชียงใหม่ ที่ควรค่าแก่การมาลิ้มลอง ด้วยสถานที่ที่คอกาแฟต่างบอกกันปากต่อปากว่าดีเยี่ยมไม่แพ้ร้านไหนในประเทศไทย โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพระดับพรีเมียมนอกจากนี้ ที่นี่ยังมีโรงคั่วเป็นของตัวเอง จึงสามารถรังสรรค์กาแฟที่มีเอกลักษณ์ในแบบตัวเองได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
" จากคนที่ไม่ดื่มกาแฟ สู่ผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟไทย จากจุดเริ่มต้นของกลิ่นที่ชวนให้ตกหลุมรัก ที่นำพาชีวิตได้ออกผจญภัยไปตามแหล่งปลูกกาแฟทั่วโลก "
จากคนที่ไม่ดื่มกาแฟ สู่ผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟไทย จากจุดเริ่มต้นของกลิ่นที่ชวนให้ตกหลุมรัก ที่นำพาชีวิตได้ออกผจญภัยไปตามแหล่งปลูกกาแฟทั่วโลก ในตอนนี้พี่อ้วนได้ร่วมเดินทางเคียงข้างเกษตรกร เพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟไทยให้ทัดเทียมกับสากล และเป็นหนึ่งในคนที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยได้กลายจุดหมายปลายทางทางด้านกาแฟที่กำลังเติบโตและได้รับการยกย่องในด้านคุณภาพที่โดดเด่นและการพัฒนาที่ยั่งยืนจากทั่วโลกสำหรับคนที่กำลังมองหาอะไรที่เป็นมากกว่ากาแฟสักแก้ว พี่อ้วน และ Omnia Cafe & Roastery พร้อมที่นำเสนอความรู้ การเดินทาง เพื่อสำรวจรสชาติ วัฒนธรรม และความเป็นไปได้อันไร้ขอบเขตของผลเชอร์รีสีแดงนี้ เพื่อให้คุณดื่มด่ำกับช่วงเวลาแห่งการค้นหาความพิเศษของกาแฟอย่างแท้จริง
Coffee Traveler
เป็นนิตยสารรายสองเดือน ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ
และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ
- - -
สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX
Facebook Coffee Traveler
Instagram : coffeetraveler_magazine
Youtube : Coffee Traveler
Blockdit : I am Coffee Traveler/ coffeetravelermag
Comments